ค่า BMI เป็นดัชนีที่ใช้วัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งบอกได้ว่ารูปร่างของบุคคลนั้นอยู่ในเกณฑ์ใด ตั้งแต่อ้วนมากจนถึงผอมเกินไป
สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) คือ น้ำหนักตัว[Kg] / (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) สูตรนี้เหมาะสำหรับการประเมินผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ประโยชน์ของการวัดค่า BMI คือการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้น การรักษาร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลสุขภาพในระยะยาว
ผอมเกินไป
น้ำหนักปกติ
อ้วน
อ้วนมาก
อ้วนมาก = 30.0 ขึ้นไป ระดับนี้ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ ควรปรับพฤติกรรมการกินอาหารและเริ่มออกกำลังกาย และหากค่า BMI สูงกว่า 40.0 ควรไปตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์
อ้วน = 25.0 - 29.9 ระดับนี้แสดงถึงความอ้วนปานกลาง แม้จะไม่อันตรายเท่าค่าที่สูงกว่า 30.0 แต่ยังมีความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง ควรปรับพฤติกรรมการกินอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ
น้ำหนักปกติ เหมาะสม = 18.6 - 24 ค่าดัชนีมวลกายในช่วงนี้ถือว่าเป็นน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทย และมีความเสี่ยงต่ำต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน ควรรักษาค่า BMI ในช่วงนี้ให้นานที่สุด และตรวจสุขภาพประจำปี
ผอมเกินไป = น้อยกว่า 18.5 การมีน้ำหนักต่ำกว่าปกติอาจเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารและพลังงาน ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่เพียงพอและออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ค่า BMI ในโปรแกรมคำนวณนี้เหมาะสำหรับชาวเอเชียและคนไทย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ ค่า BMI เฉลี่ยของหญิงไทยคือ 24.4 และชายไทยคือ 23.1 (สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป)